วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

วิชาการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ 
         ปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ มีความสำคัญมากในการนำเสนอข้อมูลทั้งข่าวสาร ภาพ ความคิดเห็น การโฆษณา การประกาศ เนื่องจากเป็นวิธีการที่สามารถทำให้บุคคลอื่นได้เห็น หรือ ทราบข้อความของสื่อสิ่งพิมพ์ได้เป็นปริมาณมาก และครอบคลุมไม่จำกัดพื้นที่ เช่น หนังสือรายวัน ที่มีการผลิตเป็นจำนวนมาก เราสามารถทราบข่าวสาร ภาพ และความคิดเห็นต่างๆ ได้ ไม่ว่าเราจะอยู่ ที่ใดของประเทศไทย
ช่วงประมาณ 17,000 12,000 ปีพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ปรากฎบนผนังถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน และถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส ว่ามีผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้นซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์ครั้งแรก
คริสตศักราชที่ 105 ได้มีบุคคลคิดวิธีทำการดาษขึ้นมา และกลายเป็นวัสดุสำคัญเท่ากับการเขียนและการพิมพ์ในปัจจุบัน นั่นคือ ไซลั่น ซึ่งมีเชื้อสายจีน
คริสตศักราช 400 ชาวจีนรู้จักการทำหมึกแท่งขึ้น โดยใช้เขม่าไฟเป็นเนื้อสี (Pigment) ผสมกาวเคี่ยวจากกระดูกสัตว์ หนังสัตว์และเขาสัตว์เป็นตัวยึด (Binder) แล้วทำให้แข็งเป็นแท่ง ชาวจีนเรียกว่า บั๊ก
ปี .. 450   การพิมพ์ด้วยหมึกบนกระดาษจึงเกิดขึ้นโดยใช้ตราจิ้มแล้วตีลงบนกระดาษเช่นเดียวกับการประทับตรายางในปัจจุบัน
ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ประมาณปี .. 2205 (.. 166) มิชชันนารีฝรั่งเศส ชื่อ ลาโน (Mgr Laneau) แต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนา
.. 2336 (.. 1813)     นางจัดสัน (Nancy Judson) ได้หล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก .. 2371 (.. 1828)
ร้อยเอกเจมส์โลว์ (Captain Jemes Low) นายทหารอังกฤษ เรียนภาษาไทยจนสามารถเรียบเรียงตำราไวยกรณ์ไทยขึ้น และได้จัดพิมพ์หนังสือไวยากรณ์ขึ้นชื่อว่า (A Grammar of the Thai) พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press ที่เมืองกัลกัตตา นับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวเรียงภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดที่จะหาได้ในปัจจุบัน
สิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
-หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน
-หนังสือบันเทิงคดี
สื่อพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
-หนังสือพิมพ์ (Newspapers)         
-วารสาร, นิตยสาร
-จุลสาร
สิ่งพิมพ์โฆษณา
-โบว์ชัว (Brochure)
-ใบปลิว (Leaflet, Handbill)
-แผ่นพับ (Folder)
-ใบปิด (Poster)      
ประเภทของสิ่งพิมพ์
-สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
-สิ่งพิมพ์มีค่า
-สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ      
-สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์


 

กราฟิก  หมายถึง  การสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น  ภาพวาด ภาพเขียน  แผนภาพ  ตลอดจนสัญลักษณ์  ทั้งสีและขาว - ดำ  ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน  เข้าใจความหมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ

                                                  พิกเซล (Pixel)                       =                Picture กับคำว่า Element
 

จุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่รวมกันทำให้เกิดเป็นภาพขึ้น
ความละเอียด ( Resolution )     =       หน่วยเป็นพีพีไอ ppi
บอกถึงความละเอียดของภาพโดยมีย่อมาจาก (pixrls perimch)
คือจำนวนจุดต่อนิ้ว (dpi : คือ dot per inch )
ภาพที่มีความละเอียดสูงหรือคุณภาพดีควรจะมีค่าความละเอียด 300x300ppi ขึ้นไป
การประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
1.การประมวลผลแบบ Raster หรือ Bitmap
2.  การประมวลผลแบบ Vector
หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์

ระบบสีของคอมพิวเตอร์
     ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี 3 สี แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ดังนั้นจึงควรทราบระบบสีของคอมพิวเตอร์ก่อน
     ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Addivtive
     สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และ สีน้ำเงิน (Blue) เรียกรวมกันว่าRGB ซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของ RGB ดัง
-ระบบสีระบบ Additive
-ระบบสีที่ใช้กับงานพิมพ์
โหมด CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK)




ประกอบด้วยสีสี่สี คือ สีเขียวปนน้ำเงิน
, สีม่วงแดงเข้ม, สีเหลือง และสีดำ เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสงหรือระบบสีRGB คือ แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan)
แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง(Magenta)
แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow)
สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมีสี่สี โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี(CMYK)
ระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละสี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ ถ้าลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ สี่สีอยู่เต็มไปหมด การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจากสี่สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น 10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง100 %

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลักการออกแบบสิ่งพิมพ์แบบ Desktop Publishing

การสร้างภาพในงานกราฟิก
การจัดแสง

องค์ประกอบในการออกแบบ
-    เส้น (Line)                                        -    รูปร่าง (Shape)
-     รูปทรง (Form)                                -    ขนาด (Size)
-     ทิศทาง (Direction)                          -      พื้นที่ว่าง (Space)
-      ลักษณะพื้นผิว (Texture)               -      ค่าน้ำหนักของสี (Value)
-      สี (Color)                                         -      วรรณะของสี (Tone of Color)
หลักการออกแบบ
-     จังหวะ (Rhythm)                                             -      การแปรเปลี่ยน (Gradation)
-      ความกลมกลืน (Harmony)                            -      การตัดกัน (Contrast)
-      สัดส่วน (Proportion)                                      -      ความสมดุล (Balance)
-      การเน้น (Emphasis)                                       -      เอกภาพ (Unity)
ตัวอักษรและตัวพิมพ์


 

Adobe Illustrator CS3


โปรแกรม Illustrator
                Illustrator คือโปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นหรือเวกเตอร์ และยังสามารถรวมภาพกราฟฟิกที่แตกต่างกันระหว่างเวกเตอร์และบิตแม็พ ให้เป็นงานกราฟฟิกที่มีทั้งภาพเป็นเส้นที่คมชัดและ มีเอฟเฟกต์สีสัน สวยงามหรือมีความแปลกใหม่ร่วมกันได้
Adobe Illustrator CS3
อะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ (Adobe Illustrator) เป็นโปรแกรมวาดภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ รุ่นแรก จัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1986 เพื่อใช้งานกับเครื่องแมคอินทอช และได้พัฒนารุ่นที่ 2 ออกมาให้ใช้งานได้กับวินโดวส์ ซึ่งได้รับความพึงพอใจ และ การตอบรับที่ดีจากผู้ใช้เป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันได้พัฒนาออกมาจนถึงรุ่นที่ 14 และได้รวบรวมเข้าไปเป็น 1 ในโปรแกรมชุด Adobe Creative (CS4)
รุ่นต่างๆ
Adobe Illustrator 1.0 (Mac OS) (มกราคม ค.ศ. 1987)
Adobe Illustrator 1.1 (Mac OS) (มีนาคม ค.ศ. 1997)
Adobe Illustrator 88 (Mac OS) (มีนาคม ค.ศ. 1988)
Adobe Illustrator 2.0 (Windows) (มกราคม ค.ศ. 1989)
Adobe Illustrator 3.0 (Mac OS) (ตุลาคม ค.ศ. 1990)
Adobe Illustrator 3.5 (Solaris, Silicon Graphics) (ค.ศ. 1990)
Adobe Illustrator 4.0 (Windows) (พฤษภาคม ค.ศ. 1992)
Adobe Illustrator 5.0 (Mac OS) (มิถุนายน ค.ศ. 1993)
Adobe Illustrator 5.5 (Mac OS) (มิถุนายน ค.ศ. 1994)
Adobe Illustrator 4.1 (Windows) (ค.ศ. 1995)
Adobe Illustrator 6.0 (Mac OS) (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996)
Adobe Illustrator 7.0 (Mac/Windows) (พฤษภาคม ค.ศ. 1997)
Adobe Illustrator 8.0 (Mac/Windows) (กันยายน ค.ศ. 1998)
Adobe Illustrator 9.0 (Mac/Windows) (มิถุนายน ค.ศ. 2000)
Adobe Illustrator 10.0 (Mac/Windows) (พฤศจิกายน ค.ศ. 2001)
Adobe Illustrator CS (Mac/Windows) (11.0) (ตุลาคม ค.ศ. 2003)
Adobe Illustrator CS2 (Mac/Windows) (12.0) (เมษายน ค.ศ. 2005)
Adobe Illustrator CS3 (Mac/Windows) (13.0) (มีนาคม ค.ศ. 2007)
                Adobe Illustrator CS4 (Mac/Windows) (14.0) (ประมาณ ค.ศ. 2008)

การนำไปใชงานโปรแกรม Illustrator
-งานสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นงานโฆษณา โบร์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร เรียกได้ว่าเกือบทุกสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความคมชัด
-งานออกแบบทางกราฟฟิก การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM และการออกแบบการ์ด อวยพร ฯลฯ
-งานทางด้านการ์ตูน ในการสร้างภาพการ์ตูนต่างๆนั้น โปรแกรม Illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการวาดรูปได้ดี
-งานเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตใช้สร้างภาพตกแต่งเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็น Background หรือปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่องตลอดจนภาพประกอบต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ


 

วิชาผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

Adobe Photoshop


ส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม Photoshop cs4
Menu Bar  คือ    แถบรวบรวมคำสั่งหลักทุกคำสั่งในการใช้โปรแกรมTool
File - มีไว้สำหรับเปิด-ปิด และ บันทึก (Save) ไฟล์ รวมถึงการ Import, Export การสั่งการพิมพ์ เป็นต้น
Edit เป็นคำสั่งสำหรับการปรับแต่ง แก้ไข ดัดแปลง ตัดต่อ รวมถึงการปรับตั้งค่าต่างๆ (Preferences)
Image คำสั่งนี้ใช้สำหรับปรับค่าต่างๆของภาพทั้งภาพ
Layer เป็นคำสั่งในการสร้างเลเยอร์ การปรับแต่งแต่ละ เลเยอร์ รวมถึงการรวมเลเยอร์เข้าด้วยกัน
Select เป็นคำสั่งหรือจัดการกับพื้นที่ที่ต้องการทำงาน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ร่วมกับเครื่องมือใน Tool box
Filter เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนโดยอัตโนมัต มีฟิลเตอร์หลากหลายชนิดให้เลือกใช้
Analysis เป็นการกำหนดค่าของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดขนาด
3D เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างภาพให้เป็นสามมิติ
View เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนมุมมอง การย่อหรือขยายขนาดของพื้นที่งาน รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวัด    และเส้น Grid ด้วยWindow คำสั่งนี้มีใว้เพื่อจัดการเกี่ยวกับพื้นที่บนหน้าจอ และการสั่งการแสดงหรือซ่อน หน้าต่าง Palette และกำหนดค่า Tool preset
Help เป็นคำสั่งช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้งานต่างๆ

การกำหนดขนาดงาน

1. คลิกเมนู File> New   เพื่อกำหนดขนาดงานใหม่
2.ตังชื่อไฟล์ในช่อง Name
3.กำหนด หน่วยของขนาดงาน
                Pixels                 =   พิกเซล
                Cm                        =   เซนตติเมตร
                Inches                  =   นิ้ว
4.กำหนดค่าความกว้างความสูงของงาน
                Width                                   =   ความกว้าง
                Height                   =   ความสูง
5.กำหนดค่าความละเอียดในการประมวลผลงาน
6.กำหนดโหมดสีในการแสดงผล